พูดคุยปัญหาด้านสุขภาพ กลุ่มโรค NCDs

ตามแนวทางเปลี่ยนอาหารให้เป็นยา โดยทีมงานของคุณหมอบุญชัย

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

อาหารเวลเนสฟู้ด อร่อยดี..มีคุณค่า รังสรรค์เมนูสุขภาพที่คุณก็สามารถทำเองได้

สาระความรู้หลักการ

เปลี่ยนอาหารให้เป็นยา

นำเสนอแนวทางผ่านบทความ วีดีโอ ผ่านหน้าเว็บไซต์ และ Youtube

บล็อกข่าวสาร

เกี่ยวกับเวลเนส

ติดตามข่าวสาร ข้อมูล ได้ก่อนใครเพียงสมัครเป็นสมาชิกกินตามเวลเนส

เกี่ยวกับ "กินตามเวลเนส"

กินตามเวลเนส เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ หลักการ "เปลี่ยนอาหารให้เป็นยา" ตามแนวทางธรรมชาติบำบัด เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อทุกท่าน ผู้ที่ใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ นำเสนอความรู้ วิธีการ ในการดูแลสุขภาพและการบำบัดโรค เพราะเราตระหนักว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดจากหลักธรรมชาติ ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดในการทำให้คนป่วยเป็นโรคในกลุ่ม NCDs

เราจึงหยิบยก แนวทางการบำบัดกลุ่มโรค NCDs ตามแนวทาง ของ นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ แพทย์ผู้มีประสบการณ์ในการใช้ธรรมชาติเพื่อการบำบัดโรคจากประสมการป่วยด้วยตนเองถึง 6 โรค และประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs มายาว

นานกว่า 8 ปี มีผู้ป่วยที่ผ่านการดูแลมากกว่า 10,000 ราย ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันผสมผสานกับวิถีธรรมชาติบำบัด

NCDS กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

" เปลี่ยนอาหารให้เป็นยา เปลี่ยนคนไทยทั่วหล้าให้สุขภาพดี "

..ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามหลักการธรรมชาติ..

ข่าวดี ! ...สำหรับผู้ที่ต้องการความรู้

เกี่ยวกับโรคมะเร็งและโรคไตเสื่อม-ไตวาย

 ไขข้อสงสัยสุขภาพ

ไตระยะที่ 4 ทานผักดิบได้ไหมค่ะ

     ผู้ป่วยไตเสื่อมระยะที่ 4 สามารถรับประทานผักได้ แต่ควรเลือกชนิดของผักและปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากผักบางชนิดมีปริมาณโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูง ซึ่งอาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมระยะนี้ ควรปรึกษานักโภชนาการหรือแพทย์เพื่อคำแนะนำเฉพาะบุคคล
ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำและเหมาะสมกับผู้ป่วยไตเสื่อมระยะที่ 4

เช่น:
- แตงกวา
- ผักกาดขาว
- ฟักทอง
- ผักคะน้า
- ผักกาดหอม

การเตรียมผักก็สำคัญเช่นกัน แนะนำให้แช่ผักในน้ำก่อนการปรุง หรือนำผักไปลวกน้ำร้อนก่อนการปรุง เพื่อลดปริมาณโพแทสเซียม เพื่อความปลอดภัย ควรรับประทานผักให้หลากหลาย และได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการในการปรับอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะไตเสื่อมระยะที่ 4

ความรู้สุขภาพโดย แพทย์หญิง วรณัน สันติคุณากร

ไตเสื่อมกินกาแฟได้ไหม?

คำตอบ ผู้ป่วยไตเสื่อมสามารถดื่มกาแฟได้ แต่ควรจำกัดปริมาณและระมัดระวังเรื่องการบริโภคคาเฟอีน การดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมมักจะไม่เป็นอันตราย แต่การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตและการทำงานของไต

คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อม  
- จำกัดปริมาณการดื่มกาแฟ : ควรจำกัดการดื่มกาแฟให้ไม่เกิน 1-2 แก้วต่อวัน
- หลีกเลี่ยงกาแฟที่มีน้ำตาล นมวัว และครีมเทียมมาก : เนื่องจากอาจมีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง
- ตรวจสอบกับแพทย์หรือนักโภชนาการ : เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมตามสภาวะไตเสื่อมของแต่ละบุคคล ผู้ป่วยไตเสื่อมควรคำนึงถึงการบริโภคเครื่องดื่มและอาหารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเพิ่มภาระงานของไตและรักษาสุขภาพโดยรวมให้อยู่ในเกณฑ์ดี

ความรู้สุขภาพโดย
แพทย์หญิง วรณัน สันติคุณากร

โรคไตถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ไหม

คำตอบ ไตเสื่อม เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ พฤติกรรมการรับประทานอาหารของเราในปัจจุบัน แต่มีโรคไตบางชนิดที่อาจจะสืบทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ถุงน้ำในไต และ ไตอักเสบ เป็นต้น


ความรู้สุขภาพโดย
แพทย์หญิง วรณัน สันติคุณากร

ไตเสื่อม ทานหน่อไม้ได้ไหม
คำตอบ ผู้ป่วยไตเสื่อมระยะที่ 4 ควรระมัดระวังในการรับประทานหน่อไม้ เนื่องจากหน่อไม้อาจมีปริมาณยูริก โพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูง ซึ่งอาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะนี้ การรับประทานหน่อไม้สามารถทำได้หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและอยู่ในคำแนะนำที่แพทย์หรือนักโภชนาการกำหนด การลดปริมาณโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในหน่อไม้ สามารถทำได้โดยการต้มในน้ำและเทน้ำทิ้งหลายๆครั้ง ก่อนการนำไปปรุงอาหาร เพื่อความปลอดภัยสูงสุด ผู้ป่วยไตเสื่อมระยะที่ 4 ควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการก่อนที่จะนำ หน่อไม้ไปปรุงอาหารในชีวิตประจำวัน

 
ความรู้สุขภาพโดย
แพทย์หญิง วรณัน สันติคุณากร
ไตเสื่อม ตอนนี้ไตระยะ 3 B egfr 32 กินผลไม้ได้ไหม
คำตอบ ผลไม้ กล้วยส้ม น้ำมะพร้าว อย่าเพิ่งกินนะครับ เพราะมีโปตัสเซียมมาก กินผลไม้หวานน้อยแต่ควรกินนิดหน่อย ก็พอ ไม่แนะนำให้กินเป็นประจำ

 
ความรู้สุขภาพโดย
นายแพทย์ สมเกียรติ อัครศรีประไพ

แนวทางการดูแลสุขภาพกลุ่มโรค NCDs

ตามหลักแนวทางเปลี่ยนอาหารให้เป็นยา ของ นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

ไตเสื่อม-ไตวาย

โรคมะเร็ง

โรคไขมันในเลือด

โรคเบาหวาน

โรคอ้วน


" ช่องกินตามเวลเนส

นำเสนอสาระความรู้ แนวทางการบำบัดกลุ่มโรค NCDs ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต


และการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับกลุ่มโรค


โดยหลักการเปลี่ยนอาหารให้เป็นยา ของนพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์


พบกับสาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ

คำถาม Q&A พร้อมตอบทุกข้อสงสัยผ่านการแชท หรือโทรหาเราได้ที่ "



บริการของเรา ฟรี!

พูดคุย เรื่อง สุขภาพ บนโลกออนไลน์ ที่จะทำให้คุณไม่ต้องกังวลกับอาการเจ็บป่วยอยู่เพียงลำพังอีกต่อไป สะดวกทุกที่ทุกเวลา ดูแลสุขภาพได้ในมือคุณ

  • แชทพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทีมคุณหมอบุญชัย
  • ปรึกษาแนวทางเปลี่ยนอาหารให้เป็นยา
  • ปรึกษาด้านข้อมูลผลิตภัณฑ์

ช่องทางการติดต่อ

บทความสุขภาพ

สาเหตุของโรคภูมิแพ้ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของเรามีความไวต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มากระตุ้น เช่น...แพ้อากาศเย็น...แพ้อากาศร้อน...แพ้อาหารบางชนิด...แพ้สารเคมีบางชนิด...ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับร่างกายมีความแตกต่างกันไป เช่น...ผื่นคัน...ลมพิษ...น้ำมูกไหล...จาม...หอบหืด...บางคนถึงขั้นช็อกเสียชีวิต
3 Apr 2025
โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ช่วยในการควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจรักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด ถ้าระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้นได้
31 Mar 2025
อาหาร 3 ต่ำ ถือ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 25 ปี เพราะร่างกายหยุดการเจริญเติบโตแล้ว...หยุดการใช้อาหารเพื่อการเจริญเติบโต...ร่างกายเริ่มเผาผลาญอาหารลดลง เป็นช่วงวัยที่เป็นต้นทางของโรค NCDs
25 Mar 2025
"รวมพลังคนไทยต้านภัยโรค NCDs" นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ขอเชิญชวนผู้รักสุขภาพ หรือ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังบรรยายให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับ "กลุ่มโรค NCDs" โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
7 Mar 2025
"รวมพลังคนไทยต้านภัยโรค NCDs" นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ขอเชิญชวนผู้รักสุขภาพ หรือ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังบรรยายให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับ "กลุ่มโรค NCDs" โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
5 Mar 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy