แชร์

โรคความดันโลหิตสูง..สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค NCDs ตามมา

อัพเดทล่าสุด: 17 ต.ค. 2024
226 ผู้เข้าชม

โรคความดันโลหิตสูง..

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค NCDs ตามมา

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรค NCDs อีกชนิดหนึ่งที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก...และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค NCDs อื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค...เช่น โรคหัวใจโต...อัมพฤกษ์, อัมพาต...ไตเสื่อม...สมองเสื่อม...จอรับภาพในตาเสื่อม เป็นต้น

สาเหตุสำคัญ ๆ ที่ทำให้ความดันโลหิตสูง

1. เมื่ออายุมากขึ้น เส้นเลือดมีการแข็งตัวมากขึ้น
2. เกิดจากน้ำหนักตัวเกิน...ทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก ต้องบีบตัวแรงกว่าปกติ
3. เป็นโรคเบาหวานมานานจนหลอดเลือดแข็งตัว
4. มีการอุดตันบางส่วนของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ เช่น ในสมอง-ตับ-ไต
5. รับประทานเกลือมากไป ทำให้เกิดภาวะน้ำคั่งในร่างกาย
6. มีภาวะหัวใจเต้นแรง-บีบตัวแรง-เต้นเร็ว...จากความเครียด...เหนื่อย...ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
7. ขาดการออกกำลังกาย ทำให้การหมุนเวียนโลหิตขาดประสิทธิภาพ

วิธีการบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

1. มีเครื่องวัดความดันโลหิตเป็นของตัวเอง
2. วัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง


ค่าความดันโลหิตที่ปลอดภัย ดู 3 ค่า
ค่าที่ 1 ความดันโลหิตตัวบน                 ไม่ควรเกิน 140 mmHg
ค่าที่ 2 ความดันโลหิตตัวล่าง                ไม่ควรเกิน   90 mmHg
ค่าที่ 3 ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ)                ไม่ควรเกิน   80 ครั้ง/นาที

              เหตุที่ต้องวัดความดันโลหิตที่บ้านตัวเอง เพราะพบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเทียม ประมาณร้อยละ 30...เนื่องจากการไปวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล หรือ คลินิก ผู้ป่วยจะมีจิตใจที่ตื่นเต้น-เครียด-กังวล ทำให้ค่าความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ...เรียกอาการนี้ว่า ความดันโลหิตสูงเทียม...มีวิธีการพิสูจน์ได้วิธีเดียว คือ ต้องวัดความดันโลหิตที่บ้านตัวเอง...ต้องวัดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้า และก่อนเข้านอน จดค่าที่วัดได้ทั้ง 3 ค่า...ทำติดต่อกันทุกวัน...เพื่อหาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบน-ตัวล่าง-ชีพจร...ดูว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือมีค่าสูงเกินปกติเท่าใด

3. ต้องลดน้ำหนักส่วนเกินให้ได้      บางคนเมื่อน้ำหนักตัวลดลงจนเป็นปกติ ความดันโลหิตก็ลดลงเป็นปกติได้เอง
4. ต้องควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ     ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ซึ่งนำไปสู่การมีความดันโลหิตสูง
5. ทำการฟื้นฟูตับ     ฟื้นฟูไต     เพื่อทำให้เลือดไหลผ่านสะดวกขึ้น...ความดันโลหิตจะลดลง
6. ถ้าเป็นคนติดรสเค็มจัด ต้องปรับลดเกลือในอาหารลง
7. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างถูกต้อง


การลดความดันโลหิตด้วยการทำตามคู่มือเล่มนี้ ถือเป็นการลดความดันได้อย่างแท้จริง...เพราะถ้าท่านทำได้ต่อเนื่อง ความดันจะไม่กลับมาสูงอีก...ผลลัพธ์ที่มีค่าสูงสุด คือ การปราศจากโรค NCDs อื่น ๆ ที่เคยเป็นอยู่...ทำให้สุขภาพของท่านดีอย่างแท้จริง


บทความที่เกี่ยวข้อง
ไตเสื่อมทำไมถึงมีอาการบวม?  บวมแล้วอันตรายแค่ไหน?  ทำยังไงถึงจะไม่บวม?
อาการบวมน้ำ และ อาการน้ำท่วมปอด เป็นอะไรที่ผู้ป่วยโรคไต มีปัญหากันเยอะมากค่ะไม่ใช่ว่าเป็นโรคไตแล้วจะบวมกันทุกคน แต่ขึ้นกับการดูแลตัวเองด้วยค่ะ เพราะฉะนั้น อาการบวมน้ำ จึงสามารถป้องกันได้
2 ธ.ค. 2024
คำถาม ไตเสื่อมกินกาแฟได้ไหม?
ผู้ป่วยไตเสื่อมสามารถดื่มกาแฟได้ แต่ควรจำกัดปริมาณและระมัดระวังเรื่องการบริโภคคาเฟอีน การดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมมักจะไม่เป็นอันตราย แต่การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตและการทำงานของไต
14 พ.ย. 2024
คำถาม โรคไตถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ไหม ?
ไตเสื่อม เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ พฤติกรรมการรับประทานอาหารของเราในปัจจุบัน แต่มีโรคไตบางชนิดที่อาจจะสืบทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ถุงน้ำในไต และ ไตอักเสบ เป็นต้น
13 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy