เลือกกินผิด .... ชีวิตเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
อัพเดทล่าสุด: 19 ต.ค. 2024
351 ผู้เข้าชม
เลือกกินผิด ... ชีวิตเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้าย ที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และในประเทศไทยพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่กันมากขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ละเลยการตรวจเช็กโรคนี้ ทำให้มักพบเมื่อป่วยเข้าสู่ระยะท้าย ๆ มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเรานั้นเอง โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประอาหารที่ผิดสัดส่วน มีแต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เนื้อแดง ไม่มีผักผลไม้ และ ดื่มน้ำน้อย เน้นทานของทอดของมัน
ขาดการออกกำลังกาย ปล่อยให้เกิดภาวะท้องผูก ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก สูบบุหรี่จัด
พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลทำให้เกิดโรคร้ายตามมา
ข้อสังเกตุอาการเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
- มีภาวะระบบขับถ่ายผิดปกติ ท้องเสียสลับท้องผูก
- อุจจาระมีขนาดเล็กลง จากเดิมเลื่อยๆ
- มีมูกเลือดออกทางทวารหนัก หรือปนมากับอุจจาระ
- อึดอัดแน่นท้อง ปวดท้อง ท้องอืด ไม่ผายลม มีอาการเกร็งคล้ายเป็นตะคริวในช่องท้อ
- ซีด โลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลียผิดปกติ
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้
- การรับประทานเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื้อติดมัน และโปรตีนที่ย่อยยาก
ในปริมาณมากเกินความจำเป็นของร่างกาย - รับประทานเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม เป็นต้น
ในปริมาณมาก ๆ และเป็นประจำ - รับประทานผักผลไม้น้อยหรือไม่รับประทานเลย
- ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะน้ำหนักตัวเกิด หรือ โรคอ้วน
- สูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- พันธุกรรม หากเป็นผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ
ดังนั้นการรู้เท่าทันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ดูแลใส่ใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอย่างถูกต้อง และหมั่นตรวจเช็กสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ คือหนทางการป้องกันโรคได้ในระยะยาว การเลือกทานอาหารถถือเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันโรคร้าย
เพราะกินตามเวลเนส อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดี
พูดคุยเรื่องสุขภาพ กินตามเวลเนส โทร. 02-1133-555 กด 3
บทความที่เกี่ยวข้อง
อาการบวมน้ำ และ อาการน้ำท่วมปอด เป็นอะไรที่ผู้ป่วยโรคไต มีปัญหากันเยอะมากค่ะไม่ใช่ว่าเป็นโรคไตแล้วจะบวมกันทุกคน แต่ขึ้นกับการดูแลตัวเองด้วยค่ะ เพราะฉะนั้น อาการบวมน้ำ จึงสามารถป้องกันได้
2 ธ.ค. 2024
ผู้ป่วยไตเสื่อมสามารถดื่มกาแฟได้ แต่ควรจำกัดปริมาณและระมัดระวังเรื่องการบริโภคคาเฟอีน การดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมมักจะไม่เป็นอันตราย แต่การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตและการทำงานของไต
14 พ.ย. 2024
ไตเสื่อม เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ พฤติกรรมการรับประทานอาหารของเราในปัจจุบัน แต่มีโรคไตบางชนิดที่อาจจะสืบทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ถุงน้ำในไต และ ไตอักเสบ เป็นต้น
13 พ.ย. 2024