กินยาต่อเนื่องมีผลต่อ ไต จริงหรือไม่ ?
กินยาต่อเนื่องมีผลต่อ ไต จริงหรือไม่ ?
ไม่ใช่ว่ายาทุกตัวจะส่งผลเสียหรือทำร้ายการทำงานของไต โรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และที่สำคัญคือการใช้ยาและสมุนไพรที่ทำอันตรายต่อไต
ไต อวัยวะที่ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
หน้าที่ของไต คือการกำจัดของเสียและสารต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกาย โดยการขับถ่ายมากับปัสสาวะ ซึ่งหนึ่งในสารที่ไตต้องทำหน้าที่กำจัดคือ ยาและสารเคมีต่าง ๆ จึงส่งผลให้ไตมีความเสี่ยงสูงที่อาจได้รับอันตรายจากพิษของยาและสารเคมีบางชนิดได้
ประเภทของยาที่ต้องระวัง
กลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) คือกลุ่มยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวด เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หรือ กระดูก รวมถึงลดไข้ ต้านอาการอักเสบ โดยยากลุ่มนี้จะส่งผลต่อการควบคุมการไหลเวียนของเลือดในไต หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อการไหลเวียนเลือดของไต และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกาวะไตวายเฉียบพลัน
ยาปฏิชีวนะบางชนิด หรือ ยาฆ่าเชื้อ การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะอาจก่อให้เกิดการตกผลึก หรือ ตกตะกอนภายในไต รวมถึงท่อปัสสาวะได้
ยาหม้อ ยาชุด ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร เป็นการนำพืชสมุนไพรมาผสมกันแล้วนำไปต้มรับประทาน หรือ ในปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบเป็นยาลูกกลอน แคปซูล หรือ ยาอัดเม็ด โดยยากลุ่มนี้มักจะไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน และไม่มีการระบุตัวยาที่ชัดเจน ทำให้มีการเจือปนสารพิษต่าง ๆ เช่น โลหะหนัก และสารสเตียรอยด์ (Steroid) หากรับประทานติดต่อกัน จะทำให้พิษสะสมในไต ส่งผลให้เยื่อไตตาย และเป็นโรคไตเรื้อรังได้
ดังนั้นควรใช้ยาอย่างเหมาะสม เริ่มจากการลดปริมาณการใช้ยาที่ไม่จำเป็น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ว่าซ้ำซ้อนกันหรือมีผลต่อการทำงานของไตหรือไม่ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์
สอบถามแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบำบัดโรค ด้วยธรรมชาติบำบัดตามแนวทาง
นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ โทร 02-1133555 กด 0 หรือ 099-3931188