หลักการดูแลไต ตามแนวทางธรรมชาติบำบัด
ภาวะไตเสื่อม ไตวาย
ภาวะไตเสื่อม ถือเป็นโรค NCDs ที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงมาก...ในปี พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุขประมาณการว่า มีผู้ป่วยภาวะไตเสื่อมมากกว่า 12 ล้านคน...หรือประมาณร้อยละ 17 ของประชากร...ความน่ากลัวของภาวะนี้ คือ ภาวะความเสื่อมจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา...และนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด...ผู้ป่วยไตเสื่อมในระดับ 3 4 จะเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นในบางคน...เช่น ภาวะซีด โลหิตจาง...โปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการบวมตามขา และน้ำท่วมปอดได้...มีความแปรปรวนของแร่ธาตุในกระแสเลือด...เลือดมีภาวะเป็นกรด...เมื่อภาวะความเสื่อมเข้าสู่ระดับ 5 เรียกภาวะนี้ว่า ไตวาย...อาการต่าง ๆ ที่กล่าวมา จะมีครบถ้วนและทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการฟอกเลือดทางหน้าท้อง...ผู้ป่วยก็จะเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ระดับการทำงานของไต
การวัดระดับการทำงานของไต...ได้จากการคำนวณปริมาณเลือดที่ไหลผ่านไต เรียกว่า estimated Glomerular Filtration Rate ตัวย่อ eGFR แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังต่อไปนี้
ในการดูแลไต ท่านต้องทำความเข้าใจกับค่าการตรวจร่างกาย 3 ค่า ต่อไปนี้อย่างแจ่มแจ้ง
1. ค่า BUN ย่อมาจาก Blood Urea Nitrogen เป็นของเสียที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มี โปรตีน เป็นส่วนประกอบ...เป็นสารพิษ...เป็นสารก่อมะเร็ง...ที่ร่างกายต้องขับทิ้ง
ค่าปกติของ BUN = 10 25 mg%...ค่า BUN ในเลือดยิ่งน้อย ยิ่งทำให้ไตเสื่อมช้า...ยิ่งทำให้สุขภาพดี...การดูแลไต จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่โปรตีนต่ำ
2. ค่า Cr. ย่อมาจาก Creatinine เป็นของเสียที่ปลดปล่อยจากการทำงานของกล้ามเนื้อ...ปริมาณที่ปลดปล่อยในแต่ละวันจึงใกล้เคียงกัน...เป็นสารที่ไตต้องขับทิ้ง...ใช้วัดความสามารถในการทำงานของไต...ถ้าไตทำงานได้ดี ค่า Cr. จะต่ำ...ถ้าไตยิ่งเสื่อมมากเท่าใด ค่า Cr. จะยิ่งสูงขึ้นตามความเสื่อม...
ค่า Cr. ปกติ = 0.7 1.25 mg%
3. ค่า eGFR ย่อมาจาก estimated Glomerular Filtration Rate เป็นค่าที่นำเอา Cr. มาคำนวณด้วยสูตรคำนวณเพื่อประมาณการค่าเลือดไหลผ่านไต...หน่วยเป็นซีซีต่อนาที ค่ายิ่งมากยิ่งดี...ค่า eGFR จะผกผันกับค่า Cr. ถ้าค่า Cr. ต่ำ ค่า eGFR จะสูง...แต่ถ้าค่า Cr. สูง ค่า eGFR จะต่ำ
วิธีการดูแลไต
การดูแลไต ในที่นี้คือการฟื้นฟูหลอดเลือดในหน่วยไต (nephron) ทั้งหลอดเลือดแดงฝอยและหลอดเลือดดำฝอยที่เสื่อมสภาพ...เลือดไหลผ่านไม่สะดวก...ให้มีสภาพดีขึ้น เลือดไหลผ่านได้สะดวกขึ้น...การฟื้นฟูจะทำได้เฉพาะหน่วยไต (nephron) ที่ยังไม่เสียหายจนฝ่อ...ยังมีหลอดเลือดที่พอจะฟื้นฟูให้กลับมาทำงานดีขึ้น
นอกจากการดูแลให้หน่วยไต (nephron) ทำงานดีขึ้นแล้ว...ยังต้องแก้ไขความผิดปกติ อันเนื่องมาจากภาวะไตเสื่อมอีกหลายประการ การแก้ไขความผิดปกติที่มีผลมาจากภาวะไตเสื่อม
การลด BUN ในเลือดลงให้เหลือน้อยที่สุด
ภาวะนี้เป็นภาวะสำคัญที่ต้องรีบแก้ไข เพราะ BUN เป็นสารพิษ...เป็นสารเร่งความเสื่อม...ทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย...ยิ่ง BUN สูงเท่าใด ก็จะเป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะไตเสื่อมเร็วขึ้นเท่านั้น...วิธีการลด BUN ในเลือดลง จำเป็นจะต้องรับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำ...ยิ่งมีโปรตีนในอาหารต่ำมาก ๆ ค่า BUN จะลดลงเร็วขึ้นตามไปด้วย
เราต้องเรียนรู้ว่าอาหารโปรตีนสูงมีอยู่ในอาหารอะไรบ้างและลดการรับประทานลง หรืองดการรับประทาน
แบ่งอาหารโปรตีนสูงออกเป็น 5 กลุ่ม
กลุ่ม 1 น้ำนมวัว และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากน้ำนมวัว
เป็นกลุ่มอาหารที่ให้โปรตีนสูงที่เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยอย่างมากในปัจจุบัน ถูกนำมาทำเป็นทั้งขนม...เครื่องดื่ม...อาหารหลากหลายชนิด...
...พบว่าโปรตีนจากน้ำนมวัวแตกต่างจากโปรตีนในน้ำนมมนุษย์...โปรตีนในน้ำนมวัวเป็นโปรตีนเคซีน ซึ่งมีสายโมเลกุลยาวมาก ยากที่เอนไซม์ของคนเราจะย่อยได้อย่างสมบูรณ์ จึงเกิดการเน่าเสียในลำไส้เป็นเวลานาน เกิดสารพิษ สารก่อมะเร็งได้จำนวนมาก
โปรตีนในน้ำนมมนุษย์เป็นโปรตีนอัลบูมิน ซึ่งมีสายโมเลกุลสั้น และที่สำคัญคนเรามีเอนไซม์ที่ย่อยได้อย่างสมบูรณ์ จึงไม่เกิดสารพิษ และสารก่อมะเร็งเหมือนโปรตีนจากน้ำนมวัว
กลุ่ม 2 เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
เป็นกลุ่มอาหารโปรตีนสูงที่ได้รับความนิยมรับประทานสูงสุดในทุกชนชาติ... ในกลุ่มนี้ผู้เขียน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม
กลุ่ม A สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม...ในกลุ่มนี้เป็นที่นิยมของคนไทยอย่างมาก ทั้งเนื้อหมู และเนื้อวัว...อันตรายจากโปรตีนของเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกิดจากสายโมเลกุลโปรตีนยาวมาก...ย่อยยาก เน่านาน...นอกจากนั้นยังเป็นสัตว์สายพันธุ์ใกล้ชิดกับคนเรา จึงมีการติดต่อโรคถึงกันได้ง่าย และรวดเร็ว
กลุ่ม B สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก...เช่น ปลา, กุ้ง, ปู, ไก่, เป็ด จะมีอันตรายน้อยกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะสายพันธุ์ห่างกัน การติดต่อโรคเกิดได้ยากกว่า และเนื้อจะมีโมเลกุลโปรตีนสายสั้นกว่า ย่อยได้ง่ายกว่า จึงเกิดสารพิษน้อยกว่า
ในกลุ่มเนื้อสัตว์ ชาวฮันซาซึ่งนับถือศาสนาอิสลามเลี้ยงไก่ไว้กินไข่เป็นอาหาร...เมื่อไก่เสียชีวิต จึงจะนำเนื้อมารับประทาน ซึ่งไม่ได้รับประทานเป็นประจำ...จำนวนจึงไม่มากเกินไป
กลุ่ม 3 ไข่ต่างๆ
เป็นกลุ่มอาหารโปรตีนสูงที่คนทั่วโลกนิยมรับประทาน...คนไทยนิยมรับประทานทั้งไข่เป็ด...ไข่ไก่...ไข่นกกระทา
ข้อแนะนำในการรับประทานไข่ ควรรับประทานทั้งไข่ขาว และไข่แดง...ไม่ควรรับประทานแต่ไข่ขาว โดยเอาไข่แดงทิ้งเพราะความกลัวคอเลสเตอรอลในไข่แดง...เพราะถ้าเราดำเนินชีวิตถูกต้องตามหนังสือเล่มนี้ คอเลสเตอรอลในไข่แดง เมื่อเข้าสู่ร่างกายเราจะกลายเป็นไขมันดีคือ เอชดีแอลคอเลสเตอรอล ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนที่ให้โปรตีนในไข่คือ ส่วนของไข่ขาวเป็นโปรตีนที่ย่อยค่อนข้างง่าย
กลุ่ม 4 เห็ดต่างๆ
เป็นอาหารกลุ่มโปรตีนสูงที่เข้ามามีบทบาทในเมนูอาหารของคนไทยมากขึ้น...เพราะแต่เดิมมีเพียงเห็ดตามธรรมชาติ ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก ในปัจจุบันมีการเพาะเห็ดจากฟาร์มเห็ด จึงมีปริมาณมากพอที่จะเข้ามาอยู่ในเมนูอาหารกลุ่มอาหารโปรตีนสูงที่มีความสำคัญในการเป็นโปรตีนปลอดภัย
กลุ่ม 5 ถั่วแกะเมล็ด, เมล็ดพืช และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่ว
ปัจจุบันอาหารโปรตีนสูงประเภทนี้เข้ามาอยู่ในเมนูอาหารของคนไทยมากขึ้น...ทั้งในรูปแบบของขนม...เครื่องดื่ม...อาหารคาว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วมีความหลากหลายมาก ทั้งเต้าหู้ชนิดต่างๆ...โปรตีนเกษตรที่นิยมใส่ในอาหารเจ...ขนมชนิดต่างๆ ที่ทำมาจากส่วนประกอบของถั่ว
เมื่อเราลดหรืองดอาหารที่มีโปรตีนแล้ว ร่างกายเราจะขาดกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องใช้ในการซ่อมแซมและสร้างร่างกาย...จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ...โปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำลง ทำให้บวมตามขาได้...ในกรณีต่ำมาก ๆ อาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด เราจึงต้องรับประทานกรดอะมิโนโดยตรงเพื่อไปชดเชย...ศูนย์พัฒนาเวลเนสโปรดักส์ ได้ผลิต Amino Vit ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน ทีร่างกายต้องการ และมีวิตามินที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน เพื่อไปทดแทนโปรตีนจากอาหารที่ขาดหายไป...เป็นวิธีการดูแลไตที่ได้ผลรวดเร็ว เพราะค่า BUN ลดลงอย่างรวดเร็ว และร่างกายได้รับการบำรุงจากกรดอะมิโนและวิตามินอย่างพอเพียง
เกณฑ์ประมาณการการลดโปรตีนในอาหารตามระดับความเสื่อมของไต
ไตเสื่อมระดับ 5 ควรงดรับประทานโปรตีนจากอาหาร
ไตเสื่อมระดับ 4 ควรรับประทานโปรตีนจากอาหาร 1 2 ขีด/วัน
ไตเสื่อมระดับ 3 ควรรับประทานโปรตีนจากอาหาร 3 ขีด/วัน
ไตเสื่อมระดับ 2 ควรรับประทานโปรตีนจากอาหาร 4 ขีด/วัน
เมื่อท่านทดลองปฏิบัติได้ครบ 15 วัน ควรตรวจเลือดดูค่า BUN ที่ลดลง...และตรวจดูค่าโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) ในเลือดว่ามีระดับเพียงพอหรือไม่...ค่าที่ดีควรมีค่าประมาณ 4.0 mg% ขึ้นไป และต้องไม่ต่ำกว่า 3.5 mg% จึงจะปลอดภัย...นอกจากค่า BUN ที่ลดลงแล้ว ค่า Cr. ก็จะลดลงตาม...มีผลทำให้เลือดไหลผ่านไตมากขึ้น...ค่า eGFR จะเพิ่มขึ้น
สอบถามแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบำบัดโรค ด้วยธรรมชาติบำบัดตามแนวทาง นพ. บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ โทร 02-1133555 กด 3 หรือ 099-3931188