แชร์

โพแทสเซียม คืออะไร สำคัญอย่างไรกับผู้ป่วยไตเสื่อม

71 ผู้เข้าชม

พแทสเซียม คืออะไร  สำคัญอย่างไรกับผู้ป่วยไตเสื่อม

        โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ช่วยในการควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจรักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด  ถ้าระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้นได้     ดังนั้น ในผู้ที่มีไตเสื่อมระยะที่ 4-5 หรือระดับโพแทสเซียมสูงขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีโพแทสเซียมสูง

ทำไมต้องใส่ใจโพแทสเซียม


         ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรใส่ใจในการเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นกลุ่มอาหารหลักที่มีผลต่อแร่ธาตุโพแทสเซียมในเลือด การเลือกรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ จะช่วยลดการคั่งค้างของโพแทสเซียมในเลือด และช่วยรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ และเกิดตะคริว

เกณฑ์ปกติระดับโพแทสเซียม ในเลือด


    ระดับโพแทสเซียมปกติในเลือด   3.5 5.0 mEq/L

    ระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือด     < 3.5 mEq/L  ซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว

    ระดับโพแทสเซียมสูงในเลือด      > 5.0 mEq/L  เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจลำบาก หัวใจหยุดเต้น

ยกตัวอย่างผลไม้ที่มี ระดับโพแทสเซียม สูง






สอบถามเพิ่มเติม โทร 02 1133 555 กด 3 หรือ 0993931188


บทความที่เกี่ยวข้อง
ภูมิแพ้ ปัญหากวนใจ ที่แก้ไม่หาย
สาเหตุของโรคภูมิแพ้ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของเรามีความไวต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มากระตุ้น เช่น...แพ้อากาศเย็น...แพ้อากาศร้อน...แพ้อาหารบางชนิด...แพ้สารเคมีบางชนิด...ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับร่างกายมีความแตกต่างกันไป เช่น...ผื่นคัน...ลมพิษ...น้ำมูกไหล...จาม...หอบหืด...บางคนถึงขั้นช็อกเสียชีวิต
อาหารส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ?
อาหาร 3 ต่ำ ถือ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 25 ปี เพราะร่างกายหยุดการเจริญเติบโตแล้ว...หยุดการใช้อาหารเพื่อการเจริญเติบโต...ร่างกายเริ่มเผาผลาญอาหารลดลง เป็นช่วงวัยที่เป็นต้นทางของโรค NCDs
โรคอ้วน ถือเป็นโรค NCDs ที่พบได้มากที่สุดในปัจจุบัน!!!
คนไทยประมาณร้อยละ 30 เป็นโรคนี้...เป็นโรคที่ชักนำโรค NCDs อื่น ๆ ให้เกิดขึ้นตามมา เช่น...เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ และภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดในหลายอวัยวะ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy